วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติและข้อมูลทั่วไปของอำเภอโพนนาแก้ว

ประวัติและข้อมูลทั่วไปของอำเภอโพนนาแก้ว

การตั้งชื่อ “อำเภอโพนนาแก้ว” เนื่องจากเป็นการรวมชื่อตำบลในเขตท้องที่ คือ

โพน คือ นามของตำบลบ้านโพน
นา คือ นามของตำบลนาตงวัฒนา
แก้ว คือ นามของตำบลนาแก้ว

รวมชื่อว่า “ อำเภอโพนนาแก้ว “ หมายความว่า “ ที่ราบสูงเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์"
อำเภอโพนนาแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 18 อำเภอของจังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 33 กิโลเมตร มีพื้นที่ 365 ตารางกิโลเมตร หรือ 228,125 ไร่
เดิมเป็นพื้นที่ขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนคร ปี พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ มีเขตการปกครอง 5 ตำบล ได้มีพระราชกฤษฏีกายกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2540
มีเขตการปกครอง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านโพน ตำบลนาแก้ว ตำบลนาตงวัฒนา ตำบลบ้านแป้น ตำบลเชียงสือ เหตุผลที่มีการตั้งอำเภอโพนนาแก้ว มีอยู่ 2 ประการ 1. เป็นชุมชนหนาแน่น คืออำเภอเมืองสกลนคร มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีประชากรอยู่หนาแน่นทำให้การบริการประชาชนเกิดความล่าช้า 2. เป็นท้องที่กันดาร ห่างไกลการคมนาคม ไม่สะดวก เนื่องจากพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร มีหนองหารกั้นระหว่างพื้นที่ด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ทำให้ราษฎรที่อยู่ฝั่งทิศตะวันออก
ได้แก่ ตำบลท่าแร่ ตำบลบ้านโพน ตำบลนาตงวัฒนา ตำบลบ้านแป้น และตำบลนาแก้วได้รับความลำบากในการติดต่อราชการที่อำเภอเมือง ประกอบกับปัญหาเรื่องความสงบเรียบร้อย ราษฎรและสภาตำบลในพื้นที่ดังกล่าวจึงต้องการให้แยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ จังหวัดสกลนคร จึงให้สภาตำบล ทั้ง 5 พิจารณาหาที่ตั้งศูนย์ราชการกิ่งอำเภอ ตำบลท่าแร่ ต้องการให้ศูนย์ราชการตั้งอยู่ท้องที่ตำบลท่าแร่โดยอ้างว่าเป็นท้องที่ที่เจริญและมีชุมชนหนาแน่นที่สุด ตำบลบ้านโพนไม่ยินยอมโดยให้เหตุผลว่าถ้าศูนย์ราชการตั้งอยู่ที่ท่าแร่ ราษฎรตำบลบ้านโพน ตำบลนาตงวัฒนา ก็ไม่ได้รับความสะดวกและเป็นท้องที่ห่างไกลเช่นเดิม ราษฎรและสภาตำบลนาแก้ว มีแนวโน้วเห็นด้วยกับตำบลท่าแร่ เพราะถ้าศูนย์ราชการอยู่ตำบลบ้านโพน ราฎรตำบลนาแก้วก็ไม่ได้มีแนวโน้มเห็นด้วยกับตำบลท่าแร่ เพราะถ้าศูนย์ราชการอยู่ตำบลบ้านโพน ราษฎรตำบลนาแก้วก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

ดังนั้น ตำบลบ้านโพนจึงได้เจรจาต่อรองกับตำบลนาแก้ว โดยให้ศูนย์ราชการตั้งอยู่ระหว่างตำบลบ้านโพนและตำบลนาแก้ว และให้ใช้ชื่อกิ่งอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ว่า "โพนนาแก้ว" ซึ่งเป็นชื่อของตำบลบ้านโพนและตำบลนาแก้ว ตำบลนาแก้วตกลงรับข้อเสนอของตำบลบ้านโพน ทำให้ตำบลท่าแร่ถอนตัว ไม่ร่วมอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของกิ่งอำเภอใหม่ ดังนั้น ท้องที่ตั้งกิ่งอำเภอใหม่จึงประกอบด้วย ตำบลนาแก้ว ตำบลบ้านโพน ตำบลบ้านแป้น ตำบลนาตงวัฒนา ตำบลเชียงสือโดยมีศูนย์ราชการตั้งอยู่ระหว่าง ตำบลนาแก้ว ตำตำบลบ้านโพน และตำบลนาตงวัฒนา
ชุมชนอำเภอโพนนาแก้ว ประกอบด้วย ชนเผ่า 3 เผ่า คือ เผ่าไทย้อ ภุไท และกะเลิง(ข่าเลิง) ไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ยืนยันได้ชัดเจนว่าชุมชนอำเภอโพนนาแก้ว อพยพมาจากไหน เมื่อใด มีแต่คนเฒ่า คนแก่ เล่าเป็นตำนานสืบๆ ต่อกันมา ส่วนอายุก็อาศัยคำนวณจากรุ่นอายุของคนที่เกิดในถิ่นนี้ และหลักฐานการสร้างวัดซึ่งจะมีมาควบคู่กับชุมชนเสมอ จากปากคำคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าสืบมาไม่ว่าจะเป็นเผ่าไทญ้อ ภูไทและกะเลิง ล้วนอพยพมาจากเมืองมหาไซ กองแก้ว ประเทศลาว (อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนม) เข้ามาประมาณ 150-200 ปี มาแล้ว เหตุผลที่อพยพจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงน่าจะเป็นการลี้ภัยสงครามมากกว่าอย่างอื่น
นายช่วง เครือตาแก้ว อายุ 76 ปี อดีต กำนันตำบลบ้านโพน อำเอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร เล่าว่า "ตำบลบ้านโพนเป็นเผ่าไทญ้อ พ่อแม่เล่าให้ฟังว่า อพยพมาจากเมืองมหาไซ กองแก้ว มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกอยู่ที่บ้านอ้อมแก้ว (หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโพน) เรียกว่าบ้านอ้อมแก้วแสนตอ สาเหตุที่ชุมชนแห่งนี้ได้ชื่อว่าบ้านอ้อมแก้วแสนตอ ก็เพราะมีดวงแก้วขนาดใหญ่เสด็จมาจากฟากฟ้าตกลงมายังบริเวณนี้ ผุ้คนจำนวนมากพากันไปถางป่าเพื่อหาดวงแก้ว จนป่าเหลือแต่ตอ ผู้คนจึงได้ขนาดนามหมู่บ้านว่า " บ้านอ้อมแก้วแสนตอ" ปัจจุบันคำว่าแสนตอได้หายไปแล้ว เหลือแต่อ้อมแก้ว มาอยู่ได้ประมาณ 200 ปี แล้ว
เผ่าไทญ้อบ้านอ้อมแก้ว เป็นชุมชนดั้งเดิมแม้แต่ตำบลบ้านแป้นก็ขยายออกจากชุมชนนาแก้ว "จำบ๋ได้ว่ามาอยู่แต่ปีได๋ เกิดมากะอยู่นี้ดลด" ผู้เฒ่า ผู้แก่ บ้านนาแก้วเล่า (สิมวัดยอดลำธาร บ้านนาแก้ว สร้างเมื่อ ร.ศ. 129) นายพรมมา พลอินสา อายุ 77 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ตำบลนาแก้ว เล่าว่า "ผมเกิดอยู่บ้านกลาง ความจริง บ้านกลางเป็นเผ่า กะเลิง แต่ดั้งเดิม ปัจจุบันมนกลมกลืนกับไทญ้อหมดแล้วก็มาจากโน้น มาจากเมืองมหาไซ กองแก้ว มาอยู่ที่บริเวณหนองน้ำคันหรือกลางฮ้างอยู่ระหว่างบ้านกลางกับบ้านนาแก้ว เมื่อเกิดโรคระบาดจึงได้อพยพมาอยู่ที่บ้านกลาง "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ไว้เมื่อ ครั้งเสด็จตรวจราชการแขวงเมืองสกลนครแขวงเมืองนครพนม ว่า "พวกกะเลิง เล่าว่าอพยมมาจากเมือกะตาก แต่ไม่มีใครรู้ว่าเมืองกะตากอยุ่ที่ใดแต่ถ้าพูดถึงเมืองมหาไซ กองแก้ว พวกกะเลิงจะรู้ว่าอยู่ประเทศลาว ผู้ชายกะเลิงจะชอบไว้ผมยาวม้วนเป็นมวยผม และสักรูปนกที่แก้ม
นายคำสอน แสงวงศ์ อายุ 64 ปี อยู่บ้านเลขที 1 หมู่ที่ 6 ตำบลเชียงสือ อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร และนายวิไล บุตรโคษา กำนันตำบลเชียงสือ เล่าว่า "ราษฎรตำบลเชียงสือเป็นภูไท ไม่ใช่ผู้ไทย อพยพมาจากเมืองมหาไซ กองแก้ว อพยพครั้งแรกมาอยู่ที่ดอนบ้านฮ้าง (ดอนบ้านร้าง) ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านก็เลยอพยพไปหาที่อยู่ใหม่บริเวณริมฝั่งน้ำก่ำ ปัจจุบันเรียกว่า ท่าใหญ่ แต่บริเวณนี้เมื่อถึงฤดูฝนน้ำจะท่วมก็เลยพากันอพยพไปอยู่ที่ดอนแต้ (ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 1) มีการสร้างวัดขึ้นมาที่ดอนแต้ปัจจุบันวัดบ้านดอนแต้ไม่มีแล้ว เพราะได้มีการย้ายมาสร้างวัดโพธิ์ชัย (ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 5 ) ขึ้นมาแทน" พระครูโพธิ์ชัยธรรม เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยองค์ปัจจุบันเล่าว่า " วัดโพธิ์ชัย สร้างเมื่อ พ.ศ.2420
เดิมบ้านนี้เชื่อว่าบ้านเชียงสือ เมื่อตั้งเป็นหมู่บ้านตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ก็ชื่อบ้านเชียงสือ ภาษาภุไทออกเสียง "เซงเสอ"คนเฒ่า คนแก่ เล่าว่าว่าบริเวณ บ้านดอนฮ้างแต่ก่อนมีเสืออาศัอยู่ชุกชุม ผุ้นำชุมชนในขณะนั้นเคยบวชเป็นเณรสึกออกมาชาวบ้านเรียกว่า "เซ้ง" ภาษาอีสานออกเป็น"เซีง" ชุมชนแห่งนี้เลยมีชื่อว่า "เชียงเสือ" ต่อมาเลยเพี้ยเป็นเชียงสือ" นายวิไล บุตรโคษา กำนันตำบลเชียงสือเล่า


Credit:www.konbandon.com/